พระเยซูเจ้าตรัสว่า เมื่อเราภาวนา เราต้อง “ละทิ้ง ‘ตัวตน’ ของเราไว้เบื้องหลัง” (Leave “Self” behind)
พระองค์ตรัสว่า “ไม่มีใครเป็นศิษย์ของเราได้เว้นแต่ผู้นั้นจะละทิ้งตนเองไว้เบื้องหลัง” นี่คือเสียงเรียกที่เรียบง่าย
(Simple) สุดขั้ว (Radical) น่าพิศวง (Wonderful) แต่ท้าทายยิ่ง (Challenging) จากพระวรสารคริสตศาสนา
ไม่ใช่เพียงให้เชื่อบางสิ่งบางอย่าง หรือปฏิบัติตามกฎบางข้อ หรือเคร่งศาสนาในกรอบภายนอก
แต่เรียกร้องให้ “ละทิ้ง” ‘ตัวตน’ ไว้เบื้องหลัง”
นั่นแปลว่าอะไร? นั่นแปลว่าเราควรจะหยุดการยึดถือตัวเราเอง
เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ควรหยุดการยึดถือตัวเราเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง เรามักจะห่วงกังวล
“ไว้เบื้องหลัง”
นั่นแปลว่าอะไร? นั่นแปลว่าเราควรจะหยุดการยึดถือตัวเราเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
ควรหยุดการยึดถือตัวเราเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง เรามักจะห่วงกังวล อยากได้ทุกสิ่งให้เป็นไปตามที่เราต้อง
การ (Our egotistical mind) ให้เราหยุดคิดถึงตนเอง แต่ให้ขยายตัวออกไปจาก “โลก ‘อัตตา’ (Ego)
ที่คับแคบของเรา” (Our narrow ego) และเคลื่อนไหวและขยายตัวเข้าสู่จิตใจของพระคริสตเจ้า

อะไรคือแก่นแท้ของคำสอนนี้ของพระเยซูเจ้า?

ขอให้เราย้อนกลับมายังจุดสำคัญ - - - นั่นคือ “ใครที่ต้องการเป็นศิษย์ของเรา ต้องละทิ้งตัวตนไว้เบื้องหลัง”
นั่นหมายความว่าอะไร ให้ “ละทิ้ง ‘ตัวตน’ ของเราไว้เบื้องหลัง” ? “การละทิ้งตัวตน” ฟังดูอาจมีความหมายในด้าน
อาจหมายถึงการต้องปฏิเสธตัวเอง เป็นเรื่องที่ค่อนข้างต้องบีบคั้นกดดันตัวเอง (Self-destructive) ทำให้รู้สึก
ห่อเหี่ยวใจ (Repressive) แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ “การละทิ้งตัวตน” ไม่ได้หมายความว่าเราต้องบีบคั้นกดดันตัวเอง
ไม่ได้หมายความว่าเราต้องปฏิเสธการหาความสุขสำราญในชีวิตของเรา หรือต้องลงโทษตัวเราเองไม่ได้หมาย
ความว่าเมื่อเราใกล้ชิดพระเจ้ามากขึ้น เราต้องปฏิเสธตัวเองละทำให้ตนเองเจ็บมากขึ้น แน่นอนนั่นไม่ใช่จิตตารมณ์
ของพระวรสารที่ต้องกานให้เราเป็นอย่างนั้น นั่นไม่ใช่บุคลิกของพระเยซูเจ้า พระวรสารของพรเยซูเจ้าเกี่ยวข้องกับ
การค้นพบ “สันติสุข และความชื่นชมยินดี” (Peace and joy) และแบ่งปันคุณสมบัติที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตนี้ให้
แก่ผู้อื่น


เราคงไม่สามารถที่จะมีความสงบสุขได้มากนักหรอก ถ้าเรามีทัศนคติที่เป็นลบต่อตัวเอง ที่คอยกดดันบีบคั้นตัวเรา
เองอยู “การละทิ้ง ‘ตัวตน’ ไว้เบื้องหลัง” ไม่ได้มีความหมายในแง่ลบ ไม่ใช่เป็นเรื่องการปฏิเสธตัวเอง
หรือลงโทษทำร้ายจิตใจตัวเอง การเจริญชีวิตฝ่ายจิตไม่มีความหมายในแง่ลบ ที่เรามีแนวโน้มที่จะมองให้แง่ลบ
ก็คงเป็นเพราะบางครั้งในฐานะคริสตชน เราได้รับเอาสภาวะจิตในการมองและคิดในด้านลบ(Negative state
of mind) มาโดยไม่รู้ตัว เราหมกมุ่นกับความรู้สึกผิด (Guilt) รู้สึกบาป รู้สึกกลัวในการถูกลงโทษ (Punishment)
กลัวตกนรก และหมกมุ่นกับการคิดว่าความรอดเป็นเหมือนชมรมพิเศษหรือคลับพิเศษที่จำกัดเฉพาะ
สมาชิกบางกลุ่มเท่านั้น มีแต่บางคนเท่านั้นที่ได้รับเรียกให้เขาได้ ส่วนคนอื่นๆ จะถูกกีดกันไม่ให้เข้า
แต่ทั้งหมดนี้ไม่เป็นจริงและไม่ถูกต้อง
เกี่ยวกับพระวรสารของพระเยซูเจ้า
พระวรสารท้าทายให้เรามีชีวิตชีวา
มิใช่ให้เราตื่นตระหนกหวาดกลัว พระเยซูเจ้าไม่ทรงต้องการให้เรารู้สึกผิด (Guilty)นั่นไม่ใช่ความหมายของการ
สำนึกผิดที่ได้ทำบาป (Repentence) พระองค์ทรงบอกให้เราสำนึกผิด ซึ่งแปลว่า “ใช่ ! ฉันได้ทำผิดไปจริง..
ฉันไม่ได้ทำเต็มที่ตามที่ฉันควรทำสุดๆ ตามศักยภาพของฉัน...แต่ต่อไปนี้ ฉันจะทำตัวให้ดีกว่านี้”แต่ความรู้สึกผิด
(Guilt) เป็นสภาวะจิตในด้านลบที่บ่อนทำลาย ในพระวรสารของพระเยซูเจ้าไม่มีข้อความใดเลยที่เสนอภาพของ
พระเจ้าผู้ต้องการลงโทษเรา บาปมีโทษทัณฑ์อยู่ในตัวของมันเองอยู่แล้ว พระเจ้าไม่จำเป็นที่จะต้องลงโทษเรา

พระเจ้าไม่ทรงต้องการจะลงโทษเรา เพราะมันขัดกับภาพลักษณ์ของพระเจ้าซึ่งเป็นภาพแห่งความรัก เพราะการ
ลงโทษไม่ได้อยู่ในธรรมชาติของความรัก จริงอยู่ ที่ความรักโดยทั่วไปสามารถทำให้เราเจ็บปวดได้ ความรักอาจจะ
นำมาซึ่งความจริงที่แย่ที่เราต้องยอมรับด้วยความเจ็บปวดก็ได้ แต่”ความรักไม่ลงโทษ” แล้วเหตุใดเล่าที่เราคริสต
ชนจึงยึดมั่นอยู่กับภาพลักษณ์ของพระเจ้าผู้จะลงโทษเรา? เราไม่สามารถรักพระเจ้าผู้จะลงโทษได้ ถ้าท่านคิดถึง
คิดถึงใครบางคนที่จะลงโทษท่าน ย่อมเป็นการยากที่ท่านจะรักเขาได้ไว้ใจเขาได้


ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นความจริงว่า “การละทิ้ง ‘ตัวตน’ ไว้เบื้องหลัง” ไม่เกี่ยวข้องกับการเจริญชีวิตฝ่ายจิตในแง่ลบ
ไม่เกี่ยวข้องกับการบีบคั้นกดดันหรือความรู้สึกผิด แต่หมายถึง “การปลดปล่อยให้เป็นอิสระ” (Liberation)
คือ “ปลดปล่อยให้หลุดพ้นจากความหมกมุ่นยึดติดอยู่กับ ‘อัตตา’ นิยมทั้งปวง (Egotistical obsessions)
ให้หลุดพ้นจากโลกที่ผูกพันอยู่กับ ‘ อัตตา’ (Ego-bounded world) ให้หลุดพ้นจาก ‘คุก’ แห่งความเห็นแก่ตัว
(Selfishness) คิดถึงแต่ตนเอง (Self-centeredness) ให้หลุดพ้นจาก ‘คุก’ แห่งกิเลสและความปรารถนา
(Desires) หรือแรงกิเลสที่กระตุ้นบังคับ (Com-pulsion) หรือการเสพติด (Addiction) หรือความกลัว และความ
ไม่มั่นใจในตัวเอง (Insecurity)” ฉะนั้น “การละทิ้ง ‘ตัวตน’ ไว้เบื้องหลัง” คือ “การละทิ้ง ‘อันตา’ หรือ ‘ตัวกูของกู’
ไว้เบื้องหลัง” และออกจาก ‘คุก’ เล็กๆ นี้ไปสู่ที่โล่งกว้างแห่งจิต- - -ออกไปสู่อิสรภาพของบุตรของพระเจ้า