CROSS TREFFLEE

กางเขนปลายสามแฉก


เป็นกางเขนทที่มีรูปแบบที่สวยงามอีกแบบหนึ่ง โดยมีปลายทั้งสี่เป็นรูปสามแฉก และเป็นที่นิยมใช้ในการประดับประดา และยังเป็นที่รู้จักในนามว่า Cross Botonnee (กางเขนที่มีปลายสามปุ่ม)

 

EASTERN CROSS, THE RUSSIAN ORTHODOX CROSS

กางเขนตะวันออก, กางเขนแห่งพระศาสนจักรออร์โธดอกซ์รัสเซีย


เส้นแนวนอนด้านบนสุด เป็นสัญลักษณ์แห่งป้าย INRI (เยซู กษัตริย์แห่งชาวยิว) ที่ถูกตอกไว้เหนือพระเศียรของพระเยซูเจ้า ส่วนเส้นเฉียงด้านล่างเป็นสัญลักษณ์ของที่รองพระบาทของพระเยซูเจ้า เนื่องจากพระศาสนจักรตะวันออกเขื่อว่าพระบาทของพระเยซูเจ้าถูกตอกแยกจากกัน แทนที่จะถูกตอกซ้อนกันตามที่พระศาสนจักรตะวันตกเข้าใจ การที่ด้านขวาของเส้นล่างสุด(ในมุมมองของพระเยซูเจ้า)เฉียงขึ้นเป็นการเตือนให้เราระลึกถึงผู้ที่ถูกตรึงกางเขนด้านขวาของพระองค์ผู้ซึ่งกลับใจ และพระองค์ทรงตรัสต่อเขาว่าว่า “เราบอกความจริงกับท่านว่า วันนี้ท่านจะอยู่กับเราในสวรรค์” ส่วนด้านซ้ายของเส้นที่เฉียงลงเตือนให้เราระลึกถึงผู้ร้ายด้านซ้ายของพระองค์ที่ไม่ยอมกลับใจ

กางเขนนี้ มักได้รับการติดตั้งไว้บนยอดโบสถ์ของพระศาสนจักรออร์โธดอกซ์รัสเซีย

 

GREEK CROSS

กางเขนกรีก


เป็นกางเขนที่มีแขนทั้งสี่เท่ากัน เป็นสัญลักษณ์ที่องค์กรสภากาชาดสากลและสภากาชาดไทยใช้

 

GREEK CROSS AND X MONOGRAM

กางเขนกรีกและอักษรย่อตัวเอ็กซ์


เป็นการเอาอักษรย่อตัวเอ็กซ์ (อ่านว่า “คี” ในภาษากรีก) ซึ่งเป็นอักษรตัวแรกของพระคริสต์ในภาษากรีกทับลงไปบนกางเขนกรีก

 

GREEK CROSS WITH WORDS

กางเขนกรีกกับพยัญชนะ


เป็นกางเขนกรีกที่รวมกับพยัญชนะกรีก ที่ใช้เรียกพระเยซูคริสตเจ้า และ คำว่า “nika” ซึ่งแปลว่า “พิชิต” รวมกันแปลว่า “พระเยซูคริสตเจ้าผู้พิชิต”

 

HUGUENOT CROSS

กางเขนฮิวกานอท


ใช้โดยโปรเตสแตนท์ชาวฝรั่งเศส ผู้ยึดหลักปฎิบัติของฮิวกานอทในฝรั่งเศสช่วงศตวรรษที่ 16 และ 17 ส่วนในปัจจุบัน โปรเตสแตนท์ชาวฝรั่งเศส บางคนสวมกางเขนนี้(บางคนก็สวมเฉพาะนกพิราบ)เพื่อแสดงตนว่าเป็นโปรเตสแตนท์

JERUSALEM OR CRUSADER'S CROSS


กางเขนเยรูซาเลม หรือกางเขนนักรบครูเสด


ประกอบด้วยกางเขนรูปตัวทีสี่อันรวมเป็นกางเขนใหญ่หนึ่งอัน และกางเขนกรีกขนาดเล็กอีกสี่อันรวมเป็นห้าอัน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของบาดแผลทั้งห้าแห่งพระเยซุเจ้า เป็นกางเขนที่ กอดฟรี เดอ บุลยัน ซึ่งปลดปล่อยกรุงเยรูซาเลมจากแอกของพวกมุสลิม และเป็นผู้ปกครองเยรูซาเลมคนแรก สวมเป็นสัญลักษณ์ และเป็นสัญลักษณ์ของการเผยแผ่พระวรสารไปสู่สี่มุมโลก

 

LATIN CROSS

กางเขนลาติน


เป็นรูปแบบที่ใช้กันแพร่หลายที่สุด